Home Technology ศึกษาเพื่อการประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ศึกษาเพื่อการประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

by Lifeelevated Admin2

ปัจจุบันโลกของเรามีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากมาย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตผู้คน รวมถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ

ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ในปัจจุบันยังขาดแคลนการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ Bangkok Bank SME จึงขอนำตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT กับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จากการศึกษาของ Infor บริษัท IT ชั้นนำของโลก  ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรหรือผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ได้มีไอเดียในการเลือกนำเอามาประยุกต์ใช้ดังนี้

  1. 1. การศึกษาของบริษัท Infor พบว่าการใช้ IoT ในฟาร์มเพาะปลูกในสหรัฐอเมริกา โดยในขั้นตอนของการปลูกนั้น การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ เราจำเป็นที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยี Sensor IoT ด้านต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น Sensor ในการตรวจสอบสภาพอากาศ Sensor ตรวจสอบระดับความชื้นของดินและความชื้นในทุ่งนา ที่จะช่วยให้สามารถกำหนดเวลาและสถานที่ที่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย และ Sensor การเปิด – ปิดน้ำเข้าทุ่งนาแบบอัตโนมัติ ในการที่เพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน
  2. 2. การใช้เทคโนโลยี IoT ในฟาร์มปศุสัตว์ในสหรัฐอเมริกา จำเป็นที่จะต้องมีระบบ Sensor สามารถตรวจสอบน้ำหนักของฝูงสัตว์และสัญญาณสุขภาพของฝูงสัตว์ต่างๆ ได้เช่น การผลิตนมในโคนม การใช้ Sensor และตัวจับเวลาสามารถทำให้วงจรการให้อาหารเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถควบคุมอาหารของสัตว์ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ข้อมูลจากการศึกษายังพบว่าสามารถใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเข้ามาช่วยในด้านการผสมพันธุ์สัตว์ ที่จะได้รับประโยชน์จากการควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย
  3. 3. การติดตั้งเทคโนโลยี IoT ในรูปแบบอุปกรณ์อัจฉริยะในไร่หรือสวนปลูกพืช เกษตรกรในสหรัฐอเมริกาใช้อุปกรณ์ IoT ในการติดตามการปลูกพืชด้วยระบบ GPS เพื่อช่วยให้ทุกอย่างที่ปลูกในไร่ มีการปรับปริมาณการจ่ายน้ำให้เหมาะกับพืชแต่ชนิด ตามตำแหน่งที่ถูกกำหนดไว้ใน GPS นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ Drone และเทคโนโลยี GPS เพื่อการตรวจสอบสภาพแปลงเพาะปลูกได้จากระยะไกล
  4. 4. การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ด้าน IoT เมื่อมีการติดตั้ง Sensor ต่างๆ กับเครื่องจักรในฟาร์ม เพื่อใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและตรวจจับสัญญาณเตือนล่วงหน้าต่างๆ และใช้ในรูปแบบการจัดการกับระบบป้องกัน ดังนั้นการมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนสูงติดตั้งในฟาร์ม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนความปลอดภัยของผลผลิตในฟาร์ม ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการตลอดจนซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

แต่เทคโนโลยี IoT นอกจากจะใช้ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้แล้ว อุปกรณ์ Sensor เหล่านี้ ยังสามารถแจ้งเตือนให้เกษตรกรทราบว่า ถึง วัน – เวลา ที่จะต้องซ่อมบำรุงอุปกรณ์ได้อีกด้วย

  1. 5. การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ด้วยเทคโนโลยี IoT ฟาร์มต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากการติดตั้งและตรวจจับข้อมูลด้วย Sensor เพราะข้อมูลต่างๆ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ เพราะข้อมูลจาก Sensor เหล่านี้ จะทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในอนาคต เพื่อที่จะทำให้ฟาร์มสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มผลกำไรได้มากขึ้น
  2. 6. การใช้อุปกรณ์ IoT กับอาหารบนโต๊ะ จากปลายด้านหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน เช่น การใช้ Smart Label เข้ามาทำหน้าที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่วางขายอยู่ในซูเปอร์มาเก็ตว่า สินค้านั้นผลิตจากผู้ผลิตรายใด และมีเส้นทางการเดินทางจากฟาร์ม มาสู่โต๊ะอาหารได้อย่างไร ซึ่งการใช้เทคโนโลยี IoT จะช่วยทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลายพันรายการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
  3. 7. การแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี IoT ทำให้ผู้บริโภคสามารถทราบได้ถึง ประวัติของผลิตภัณฑ์ รวมถึง ส่วนผสมต่างๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถแจ้งข้อมูลให้กับผู้บริโภคได้ทราบ เพียงแค่ผู้บริโภค สแกน QR Code ที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์เท่านั้น ผู้บริโภคก็จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น โภชนาการในผลิตภัณฑ์ หรือส่วนผสมสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ของผู้บริโภค เป็นต้น
  4. 8. การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจะช่วยทำให้ ผู้ผลิตสามารถคาดการณ์จำนวนผลผลิตที่กำลังจะออกสู่ตลาด และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประเมินและวางแผนในการปล่อยสินค้าเข้าสู่ตลาดในปริมาณที่เหมาะสม ที่จะทำให้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด
  5. 9. เทคโนโลยี IoT กับการปฏิบัติตามข้อกำหนดและความปลอดภัยของอาหารที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้มีความมั่นใจในเรื่องของข้อกำหนดและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเป็นสินค้าปลอม
  6. 10. การนำเอาเทคโนโลยี IoT มาใช้ในโรงงานอาหารแปรรูป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงาน เพราะการติดตั้ง Sensor ต่างๆ เข้าไปในโรงงานนั้น Sensor จะทำหน้าที่เพียงส่งข้อมูลเพื่อไปจัดเก็บไว้ในระบบเท่านั้น แต่หากขาดการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้วิเคราะห์และประมวลผลแล้ว ข้อมูลทั้งหมดย่อมไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานโดยเฉพาะในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic)

การศึกษาของบริษัท Infor ถือเป็นไอเดียสำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ในการนำเอาเทคโนโลยี IoT ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

.

.

ติดตาม Life Elevated ได้ที่

Website: www.lifeelevated.club/

Facebook: Life Elevated ชีวิตยกระดับ

Twitter: @_lifeelevated_

Instagram: @lifeelevatedclub

Line OA: @Lifeelevated

Blockdit: Life Elevated

.

.

#LifeElevated #IoT #อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

.

.

อ้างอิง : สํานักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

https://www.infor.com/blog/top-ten-io-t-applications-in-the-food-and-beverage-industry

Related Articles

Leave a Comment