Home Society “โลกร้อน” เพราะเราออนไลน์

“โลกร้อน” เพราะเราออนไลน์

by Lifeelevated Admin2

ปัญหา “โลกร้อน”

มักถูกพูดถึงและหยิบยกมาเป็นนโยบายขององค์กรใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเรื่องภาวะโลกร้อน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม หรือใกล้ตัวก็การปล่อยไอเสียรถยนต์ ซึ่งล้วนแล้วส่งผลต่ออุณหภูมิโลก

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะดังกล่าวมักไม่ค่อยถูกนำมาเชื่อมโยงกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่าใดนัก หรือเชื่อมโยงก็อาจจะนึกถึงความเกี่ยวโยงไม่ออก ทว่า โจอานา มอลล์ นักวิจัยผู้ตรวจสอบสภาพทางกายภาพของอินเทอร์เน็ตออกมาชี้ว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

โดยหลักการ “อินเทอร์เน็ต” จะเป็นข้อมูลที่ถ่ายเทอยู่บนอากาศ หรือ คลาวด์ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามันขึ้นอยู่กับเซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพหลายล้านเครื่องในศูนย์ข้อมูลทั่วโลก ซึ่งเชื่อมต่อกับสายเคเบิลใต้ทะเลหลายไมล์ สวิตช์ และเราเตอร์ที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลในการรันระบบ

จากการศึกษาหนึ่งในปี 2015 พบว่า กิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตส่งผลให้เกิดการปล่อย CO2 ได้พอๆ เท่ากับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก

หากนับเป็นประเทศ อินเทอร์เน็ตนับเป็นอันดับ 7 ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ตามหลังสหรัฐอเมริกา, จีน, อินเดีย, รัสเซีย, ญี่ปุ่น และเยอรมนี

ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งระบุถึงความเป็นไปได้ที่ การให้บริการ Google แก่ผู้ใช้หนึ่งรายใน 1 เดือน จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณเท่ากับการขับรถหนึ่งไมล์ (โดยปกติรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเบนซินจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 8.91 กิโลกรัม/แกลลอน ในสหรัฐอเมริกา รถยนต์กินน้ำมันเฉลี่ย 24.7 ไมล์/แกลลอน เท่ากับว่า รถยนต์จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 360.7 กรัม/ไมล์)

เมื่อการใช้ “อินเทอร์เน็ต” ขยายตัวไปเรื่อยๆ รวมกับความต้องการรับส่งข้อมูลที่ไม่จำกัดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นจากคนกลุ่มใหม่ที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น เช่น อินเดียหรือแอฟริกา หรือจากคนกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมานานแล้ว แต่เพิ่มมิติการใช้มากขึ้น (เช่น ผ่านการใช้ Smart Device ต่างๆ) ผลรวมๆ ของการต้องการรับส่งข้อมูลที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ ทุกวันนี้ไฟฟ้าที่ศูนย์ข้อมูลต้องการใช้นั้นจะมากขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกราวๆ 4 ปี

กล่าวคือในตอนนี้ ศูนย์ข้อมูลทั้งโลกใช้ไฟเท่ากับประเทศอังกฤษ 2 ประเทศ (ปี 2019) แต่อีก 4 ปี ศูนย์ข้อมูลทั้งโลกก็น่าจะใช้ไฟเท่ากับประเทศอังกฤษราว 4 ประเทศ

การใช้ไฟฟ้าเยอะไม่ได้ทำให้โลกร้อนโดยตรง แต่ขึ้นอยู่กับว่าพลังไฟฟ้าที่ใช้นั้นมาจากแหล่งพลังงานสะอาดหรือไม่?

ตรงนี้คือปัญหา เพราะประเทศที่เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ส่วนหนึ่งเปลี่ยนได้ก็เพราะควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศตัวเองได้พอสมควร แต่จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ประเทศที่มีศูนย์ข้อมูลเยอะๆ มักเป็นประเทศที่ไม่ค่อยใช้พลังงานสะอาด และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศสูง

ในโลกยุคปัจจุบัน “อินเทอร์เน็ต” ขาดเธอแทบขาดใจ แล้วอะไรจะเป็น “ความหวัง” ในการช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก? คำตอบก็คือ “สถาปัตยกรรมชิปคอมพิวเตอร์” ที่ใช้ประมวลผลซึ่งประหยัดไฟมากขึ้นออกมาในเร็ววัน ซึ่งจะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลใช้ไฟฟ้าน้อยลงในการประมวลผลเท่าเดิมได้ อันจะส่งผลต่อการประหยัดไฟโดยตรงในท้ายที่สุด

การสู้ภาวะโลกร้อนเป็นความท้าทายระดับโลก

หลายปีที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Google หรือ Facebook ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซ CO2 โดยเฉพาะกับศูนย์ข้อมูลซึ่งแทบจะใช้พลังงานทดแทนเกือบ 100% แต่โครงสร้างอินเทอร์เน็ตนั้นกว้างใหญ่และมีผู้ใช้งานมหาศาล ดังนั้นองค์กรเล็กที่มีส่วนทำให้เกิดการใช้ปล่อย CO2 ก็ควรช่วยกันหาทางลดการใช้พลังงานไฟฟ้าบนอินเทอร์เน็ต แม้ไม่มาก..แต่เมื่อรวมกันก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ไม่น้อย

ร่วมด้วยช่วยกันวางมือถือก็เป็นอีกทางหนึ่งช่วยลดโลกร้อน

 

 

อ้างอิง

https://voicetv.co.th/read/HyH4h4gV7

https://bottomlineis.co/Online_Carbon_Emissions

https://www.theviable.co/global-warming-and-internet/

https://bit.ly/3mG8BGU

https://www.techhub.in.th/smart-phone-and-internet-climate-carbon-footprint-data-centres/

Related Articles

Leave a Comment