Home Society แนวโน้ม 9 อุตสาหกรรม ปี 2022 เพื่อการปรับตัวภาคธุรกิจยุคโควิด

แนวโน้ม 9 อุตสาหกรรม ปี 2022 เพื่อการปรับตัวภาคธุรกิจยุคโควิด

by Lifeelevated Admin2

แนวโน้ม 9 อุตสาหกรรม ปี 2022 เพื่อการปรับตัวภาคธุรกิจยุคโควิด

ด้วยโควิด 19 ยังไม่ถูกจัดการอย่างสะเด็ดน้ำ เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะถดถอย ภาคธุรกิจควรทำอย่างไร เพื่อให้กิจการได้ไปต่อ Life Elevated ชวนส่องทิศทาง 9 อุตสาหกรรม ในปี 2565 จะมีแนวโน้มเช่นไร เพื่อการปรับตัวของภาคธุรกิจดังกล่าว

 

  1. อุตสาหกรรมค้าปลี

จากที่เคยเป็นพื้นที่ Mixed Use มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย การโดนปิดนานหลายเดือนด้วยนโยบายรัฐในหลายประเทศ ทําให้เมื่อมีการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง พื้นที่ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าจําเป็นต้องปรับตัวให้เป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความสะดวกและความสบาย (Comfort & Convenience)

ข้อแนะนํา

ร้านค้าต่างๆ ต้องลงทุนกับข้อเสนอหรือโปรโมชันสุดพิเศษในลักษณะเเคมเปญระยะสั้น แบรนด์ต้องนําเสนอสินค้าลิมิเต็ดที่มีเฉพาะหน้าร้าน สร้างประสบการณ์ด้วยการออกแบบพื้นที่ตามแนวคิด Biophilic Design หรือพื้นที่ซื้อสินค้าเป็นส่วนตัวแบบ 1:1

 

  1. อุตสาหกรรมการขนส่งการเดินทา

การขนส่งสาธารณะยังเป็นเรื่องจําเป็นอยู่สําหรับคนเมืองที่ยังต้องพึ่งพาการขนส่ง แต่ด้วยแรงผลักจากรูปแบบของกิจวัตรประจําวัน การเดินทาง และการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เปลี่ยนไปของเมืองลดน้อยลงในบางพื้นที่ ประกอบกับการรายได้ของประชากรลดลงเนื่องด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจ ทําให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกลับมาทบทวนถึงบทบาทการให้บริการขนส่งสาธารณะอีกครั้ง

ข้อแนะนํา

ผู้กําหนดนโยบายหรือธุรกิจต่างๆ ควรกําหนดการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ใหม่ทั่วทั้งเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเดินทาง ด้วยการเดินในระยะสั้น การปั่นจักรยาน มากกว่าการเลือกเดินทางโดยรถยนต์

 

  1. อุตสาหกรรมแฟชั่น

ความท้าทายทางสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อเนื่องสู่ธุรกิจแฟชั่น และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจน Z ที่มีความต้องการให้แบรนด์ต่างๆ แสดงจุดยืนในการกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับอัพเดตเทรนด์แฟชั่นไปในเวลาเดียวกัน

ข้อแนะนํา

ธุรกิจสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้หลากหลาย ทั้งขายใหม่ ให้เช่า หรือนําของเก่ามาเป็นต้นทุน ตั้งแต่การ Recommerce จนถึง V-Commerce ตั้งใจฟังความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ดี สร้างระบบการขายที่ครบวงจร ไม่สร้างขยะที่ปลายทางเพิ่ม ออกแบบโปรแกรมรับซื้อของมือสองกลับมา หรือขาย วัตถุดิบเหลือใช้เพื่อสร้างประโยชน์ได้ต่อไป

 

  1. อุตสาหกรรมท่องเที่ย

โควิด 19 อาจทําให้ธุรกิจท่องเที่ยวชะลอตัวไปกว่า 2 ปี แต่การพลิกฟื้นของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก คอมมิวนิตี้ท้องถิ่น ตลอดจนแนวคิดแบบ Friluftsliv จนถึง Niksen จะช่วยทลายกรอบและสร้างโอกาสใหม่ของกิจกรรมกลางแจ้ง สถานที่ตากอากาศระยะสั้นแนว Workation ช่วยให้ผู้บริโภคยังคงท่องเที่ยวได้ ตลอดจนลดเงื่อนไขการเดินทางในต่างประเทศที่มีระเบียบและมาตรการเพิ่มมากขึ้น

ข้อแนะนํา

แบรนด์ที่ตื่นตัวเรื่องสุขภาวะ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม คือปัจจัย – ตัวเลือกสําคัญของผู้บริโภคในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นการจองสถานที่ การบริการที่การันตีถึงมาตรฐานความสะดวกสบาย และความปลอดภัย เช่นเดียวกันกับการท่องเที่ยวแบบกลางแจ้ง ประเภทต่างๆ ที่แบรนด์สินค้าต้องคํานึงถึงผู้บริโภคตั้งแต่ต้นจนจบกิจกรรม

 

  1. อุตสาหกรรมสื่อและบังเทิง

ท่ามกลางผู้บริโภคที่เผชิญสารพัดข่าวปลอม เปิดทางสู่มาตรฐานใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีเครือข่ายบล็อกเชนที่รุดหน้า ระบบ 5G ที่สมบูรณ์พร้อม และการเติบโตของตลาดเกมอีสปอร์ตที่เปิดทางเลือกให้ผู้คนได้เข้าถึงและมีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งหมดนี้นําไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่ที่ชื่อว่าเมทาเวิร์ส (Metaverse) กลายเป็นโอกาสของโมเดลธุรกิจเสมือนจริงที่ทําเงินได้อย่างเท่าเทียม และจะเป็นเมกะเทรนด์หลักใหม่ของโลกเรา

ข้อแนะนํา

แบรนด์ควรมองหาแนวทางจับมือร่วมกับแพลตฟอร์มทางเลือก ที่เคยอยู่ในวัฒนธรรมขนาดเล็ก  เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายและปลอดภัยมากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันไม่ควรละเลยการสร้างแคมเปญที่มีจุดเชื่อมกับเกมในทุกสื่อความบันเทิงตามกระแส Game-tainment เพราะพฤติกรรมการเล่นเกมไม่ได้หยุดที่ผู้เล่น แต่ยังขยายไปสู่ผู้ชมและระบบไลฟ์สตรีมมิง

 

  1. อุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมและการตกแต

เมื่อบ้านยังคงเป็นศูนย์กลางหลักในการดําเนินชีวิต ผู้บริโภคต่างมองว่านอกบ้านได้กลายเป็นส่วนต่อขยายของพื้นที่ภายในบ้านมากขึ้น จึงเกิดการใช้งานใหม่ๆ ตั้งแต่มุมพักผ่อนไปจนถึงห้องนั่งเล่น บาร์กลางแจ้ง ส่วนเมืองเมื่อกลับมาเป็นปกติ ผู้คนเริ่มประเมินความสัมพันธ์ของงานกับชีวิต กลยุทธ์เมืองยุคใหม่จึงเน้นความเท่าเทียมและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง

ข้อแนะนํา

การปรับเมืองใหม่ให้แต่ละโลเคชัน ‘อยู่ได้’ มากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ของผู้คนในพื้นที่นั้นๆ เพียบพร้อมด้วยทุกสิ่งอํานวยความสะดวกที่จําเป็น และผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สําหรับแนวทางการตกแต่ง ผู้บริโภคยังคงมองเรื่อง สุขภาวะเป็นสําคัญ ตั้งแต่อากาศ นํ้า จนถึงต้นไม้ จึงเกิดแนวทางการผสมผสานพื้นที่ ‘ภายในและกลางแจ้ง’ เข้าไว้ด้วยกัน

 

  1. อุตสาหกรรมศิลปะและหัตถกรรม

NFT (Non-Fungible Token) คือ Cryptocurrency รูปแบบหนึ่งที่แสดงความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบันถูกใช้ในสินทรัพย์ประเภทดิจิทัลอาร์ตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น งานศิลปะ แฟชั่น เพลง หรือฟีเจอร์สกินในเกม เป็นต้น ด้วยกระแสที่มาแรงและเติบโตรวดเร็วบนโลกดิจิทัล ส่งผลให้มูลค่าของตลาด Crypto Art ขยายตัวมากกว่า 800% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2021

ข้อแนะนํา

ตลาด Crypto Art สามารถปลุกชีวิตศิลปินหน้าใหม่ให้เท่าเทียมศิลปินเก่าบนเวทีดิจิทัล อย่างไรก็ดีการลงทุนในศิลปะดิจิทัล นักสะสมและนักลงทุนจะเลือกบล็อกเชนที่น่าเชื่อถือ และเข้าถึงนิทรรศการที่รองรับเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ดังนั้นครีเอเตอร์จําเป็นต้องสร้างคอนเทนต์ที่สามารถนําไปใช้ในธุรกิจอื่นได้ เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เกม แฟชั่น หรืออีสปอร์ต โดยมีระบบจัดการสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองอย่างอิสระ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแฟนคลับหรือนักสะสมให้เข้าถึงคอนเทนต์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ

 

  1. อุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่

Corona Blue อาการวิตกกังวล กดดัน หม่นเศร้า หมดเรี่ยวแรง สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 คาดการณ์ว่าจะมีประชากรมากกว่า 2 เท่าที่เข้ารับการปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับผู้เชี่ยวชาญจากอาการ Corona Blue โดยมีจํานวน 20% ที่อยู่ในกลุ่มใช้ยาเพื่อจัดการกับโรคซึมเศร้า ขณะที่ข้อมูลจาก CDC ชี้ว่า จํานวนเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในกลุ่มอาการ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือภาวะป่วยทางจิตใจในระหว่างช่วงกักตัว มีจํานวนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จากก่อนเกิดการระบาดของไวรัส

ข้อแนะนำ

การบําบัดรูปแบบเดิมอาจไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกที่ต้องเผชิญอยู่ได้แบบเรียลไทม์ องค์กรหรือ Startup ควรคิดค้นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถรับคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยเฉพาะการให้คําปรึกษาด้านเพศวิถี และความสัมพันธ์ใกล้ชิด รวมถึงแอปพลิเคชันที่ทําให้ผู้บําบัดมีสติและรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง สามารถจับอารมณ์ สร้างสมาธิ และประเมินผลตนเอง เพื่อเข้าใจและรับมือกับผลลัพธ์ที่ตามมา

 

  1. อุตสาหกรรมอาหาร

แรงผลักดันจากช่วงเวลาที่ขาดแคลนทรัพยากรและเศรษฐกิจถดถอย จุดประกายทักษะการเอาชีวิตรอดด้วยการพึ่งพาตนเอง การปลูกวัตถุดิบทางอาหารด้วยตนเองเป็นกระแสภายใต้ความจําเป็น ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบประหยัด (Frugal Economy) ให้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และ ระบบนิเวศให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

ข้อแนะนำ

จากแนวคิด Hipsteading หรือการสร้างและผลิตด้วยตนเอง ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เหล่านี้เป็นช่องทางสําหรับแบรนด์ในการช่วยสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์ จนถึงคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียที่เกี่ยวข้องกับการปลูกอาหารด้วยตนเอง แล้วใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่ไอเดีย เช่น ช่อง Hamimommy คุณแม่ชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ในโซลที่มีพื้นที่จํากัด หรือคอนเทนต์ปลูกอาหารสําหรับคนเมือง เป็นต้น

.

.

ติดตาม Life Elevated ได้ที่

Website: www.lifeelevated.club/

Facebook: Life Elevated ชีวิตยกระดับ

Twitter: @lifeelevatedCLB

Instagram: @lifeelevatedclub

Line OA: @lifeelevatedclub

Blockdit: Lifeelevatedclub

Youtube: Life Elevated Club

Related Articles

Leave a Comment